ในทุกวันนี้มีจำนวนผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงเป็นจำนวนมาก มีทั้งผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และมีทั้งผู้ป่วยที่เกิดจากอุบัติเหตุ และบุคคลภายในบ้านจะต้องมีหน้าที่คอยดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียง ซึ่งผู้ดูแลจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะตามมาได้  ในครั้งนี้เราจึงอยากจะขอแนะนำการดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียงภายในบ้านมาให้ทราบ เพื่อที่จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียงได้อย่างถูกวิธีนะคะ

istock-182060191-min

ผู้ป่วยนอนติดเตียง หลายท่านต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่สามารถทานอาหาร เข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย อาบน้ำ  หรือช่วยเหลือตนเองในด้านอื่นๆได้ด้วยตนเองเลย  ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา เช่น ผู้ป่วยอัมพาต  ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ผู้ป่วยชราภาพ ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นอย่างยิงที่จะต้องใช้ เตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลที่ถูกต้องตามหลักและความสะดวกสบายของผู้ช่วยและผู้ป่วยเอง ในทุกวันนี้มีให้เลือกมากมายหลากหลายในบ้านเราค่ะ

2324

    การดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียง ผู้ดูแลควรจะปฏิบัติ ดังนี้

  1. การจัดสถานที่ให้อยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โปร่งโล่ง ทำความสะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากการดูแลผู้ป่วย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของความสะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อลดการติดเชื้อต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ง่าย
  2. ที่นอนควรไม่แข็งและไม่นุ่มจนเกินไป เพื่อสุขภาพการนอนของผู้ป่วย เนื่องจากจะต้องนอนบนที่นอนตลอดเวลา เกือบ 24 ชั่วโมง
  3. เรื่องการเตรียมอาหารให้ผู้ป่วยติดเตียง อาหารที่แนะนำควรเป็นอาหารเหลว อาหารอ่อน เนื่องจากการดูแลผู้ป่วย ที่ทานอาหารเองไม่ได้ สิ่งที่ควรระวังคือการเสี่ยงต่อการเกิดการสำลักอาหาร เศษอาหารติดอุดตันหลอมลม ในบางกรณีที่เศษอาหารชิ้นใหญ่อาจจะทำให้ผู้ป่วยสำลักจนเกิดการขาดอากาศหายใจได้  ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ควรห้ามให้ผู้ป่วยนอนกินอาหาร ควรให้นั่งตัวตรง ประมาณ 90 องศา เมื่อผู้ป่วยทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าพึ่งให้นอนในทันที ควรให้นั่งในท่าตรงที่สุดประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารย่อยเสียก่อน วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาผู้ป่วยสำลักอาหารได้อย่างดีทีเดียว
  4. การเกิดอาการแผลกดทับ เนื่องจากนอนเป็นระยะเวลานานๆ ผู้ดูแลควรใส่ใจและระวังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก  และควรหมั่นพลิกตัวของผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง ในการพลิกตัวทำได้ด้วยการ พลิกตัวตะแคงซ้าย ตะแคงขวา  สำหรับอาการแผลกดทับ เกิดจากการที่ผู้ป่วยนอนในท่าเดียวนานๆ โดยเฉพาะบริเวณก้น และ หลัง จะมีโอกาสเกิดแผลกดทับได้มากที่สุด โดยเริ่มแรกจะมี การแค่ผิวลอกนิดหน่อย แต่นานเข้าแผลนั่นจะลุกลามไปยังกล้ามเนื้อ และกระดูก และเมื่อเกิดมีแผลก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อตามมาซึ่งทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีความยากมากขึ้น
  5. การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในทุกๆด้าน ซึ่งรวมถึงการขับถ่ายด้วยนั่นเอง โดยวิธีแก้ปัญหานี้ของผู้ดูแลคือการใส่แพมเพิร์ส เพื่อรองรับปัสสาวะ และอุจจาระ ของผู้ป่วย ปัญหาที่พบอยู่บ่อยครั้งสำหรับการใส่แพมเพิร์สนานๆคือการอับชื้น การติดเชื้อต่างๆ ผู้ดูแลจึงควรหมั่นสังเกตว่าแพมเพิร์สเต็มแล้วหรือยัง  และควรเปลี่ยนแพมเพิร์สให้ผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อลดการอับชื้น การติดเชื้อต่างๆ
  6. การอาบน้ำ สระผม การตัดเล็บ ตัดผม แปรงฟัน บ้วนปาก รวมไปถึงการเปลี่ยนเสื้อผ้า งานเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นหนักสำหรับผู้ดูแล แนะนำว่าควรหาผู้ช่วยหรือคนสักประมาณ 2 คนขึ้นไป เพื่อช่วยกันดูแลผู้ป่วยติดเตียง หากปล่อยให้ผู้ดูแลเพียงคนเดียว ถือได้ว่าเป็นงานที่หนักหน่วงเอาเสียทีเดียว ในบางครั้งที่ต้องพลิกตัว ยกตัวผู้ป่วย อาจจะต้องช่วยกันพยุงถึง 2 คน ในรายที่ผู้ป่วยตัวใหญ่ น้ำหนักเยอะ
  7. นอกเหนือจากการดูแลสภาพร่างกายของผู้ป่วยแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วย การดูแลเอาใจใส่ด้วยความรัก ความจริงใจ ในเวลาว่างผู้ดูแลอาจจะบีบนวดเพื่อช่วยผ่อนคลายให้กับผู้ป่วย อ่านหนังสือให้ฟัง พูดคุยด้วยหน้าตาท่าทาง ยิ้มแย้มแจ่มใส ชวนคุย ชวนดูรายการโทรทัศน์ เพื่อสร้างบรรยากาศ และอารมณ์ที่ดีใก้กับผู้ป่วย การสัมผัส การพูดจา วิธีนี้อาจจะช่วยให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยแข็งแรง มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคหรืออาการที่กำลังเป็นอยู่ อาจจะช่วยทำให้อาการป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ทานอาหารได้มากขึ้น สุขภาพแข็งแรง และในบางรายอาจมีโอกาสหายเป็นปกติได้images
  8. สำหรับวิธีปฎิบัติต่างๆที่มีต่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงการดูแลเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีรายละเอียดการดูแลผู้ป่วยอีกมากมายหลายเรื่องที่ผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจะต้องศึกษา เรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี และสิ่งสำคัญที่สุดคือกำลังใจ ผู้ป่วยก็ต้องการการดูแลที่มาจากความรัก ความเอื้ออาทร ต้องการกำลังใจ คำพูดที่อ่อนน้อม และผู้ดูแลเอง ก็ต้องมีความอดทน ความเพียงพยายาม เพราะงานดูแลผู้ป่วยถือได่ว่าเป็นงานที่หนัก ต้องการกำลังใจด้วยเช่นกัน และหากผู้ป่วยคนนั้นคือผู้มีพระคุณของเราอย่างเช่น พ่อ หรือ  แม่ ของเรา เราผู้เป็นลูกควรจะได้ทำหน้าที่ดูแลท่านเพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณที่ท่านได้เลี้ยงและดูแลเรามาตั้งแต่เล็ก ถือได้ว่าเป็นงานที่เหนื่อยแต่มีความสุขใจที่ได้ทำการดูแลผู้ป่วย