วิธีการเลือกซื้อที่นอนลมป้องกันแผลกดทับที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

แผล กดทับนับเป็นปัญหาแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อย  มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหว เช่นผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ และผู้สูงอายุเป็นต้น  เมื่อมีแผลกดทับเกิดขึ้นค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น และการนอนในโรงพยาบาล       ต้องยืดระยะเวลาออกไปอีก  ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้นการป้องกันการเกิดแผลกดทับ และการรักษา แผลกดทับร่วม กันจึงเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและญาติลงและวิธีการป้องกันไม่ให้ เกิดแผลกดทับ ของผู้ป่วย คือการใช้ที่นอนลม สำหรับผู้ป่วย ซึ่งเป็นการช่วยกระจายแรงกดทับของร่างกายไม่ให้บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ถูกกดทับเป็นเวลานาน ๆ
คำถามยอดฮิตที่ลูกค้ามักจะโทรเข้ามาสอบถามที่บริษัทฯเป็นประจำ คือคุณ หมอแนะนำให้ใช้ที่นอนลมแต่ไม่ทราบว่าจะ ใช้แบบไหนดีถึงจะเหมาะกับผู้ป่วย และควรจะเลือกซื้อยังไง ซึ่งทางเราต้องสอบถามถึงรายละเอียดของผู้ป่วยเช่นอายุเพราะ บางท่านไม่ป่วยแต่สูงอายุ  และถามอาการของผู้ป่วยว่าเกิดจากอุบัติเหตุ  อัมพาต  หรืออัมพฤกษ์

คำแนะนำในการเลือกซื้อที่นอนลม และปั๊มลมสำหรับผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับ  ควรคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานความปลอดภัยของที่นอนลมและการบริการหลังการขาย เช่น การซ่อมบำรุง

ที่นอนลมมี 2 แบบ
1. ที่นอนลม Bubble  เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการป้องกันการเกิดแผลกดทับหรือเป็นแผลกดทับแล้วเพราะที่นอน Bubbleดูแลรักษาทำความสะอาดง่าย

คุณสมบัติของที่นอนลม Bubble
• วัสดุที่ใช้ผลิตที่นอนลม Bubble ทำมาจากพีวีซีเนื้อเหนียวมีความยืดหยุ่นแข็งแรงไม่อับชื้นทนทานทนต่อการกัด กร่อน ของน้ำยาเคมี
• ที่นอน Bubble ถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งาน และสะดวกกับผู้ดูแลและทำความสะอาดง่าย ในกรณีที่นอนลมสกปรกจากของเสียจากตัวผู้ป่วย  น้ำยาทำความสะอาดแผลหรือทำความสะอาดผู้ป่วยบนที่นอน
• ที่นอน Bubble สามารถรองรับน้ำหนักได้มากถึง 130 กิโลกรัม
• กรณีที่นอนรั่ว  สามารถทำการซ่อมแซมและใช้งานได้ง่าย

2.ที่นอนลมแบบลอน  เหมาะกับผู้สูงอายุที่เดินไม่ไหว เช่นอัมพาต อัมพฤกษ์  หรือเกิดอุบัติเหตุต้องนอนมากกว่าปกติและผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดต้องนอนพักฟื้นเป็นเวลานาน ๆ    เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดแผลกดทับ

คุณสมบัติของที่นอนลมแบบลอน
• วัสดุที่ใช้ผลิตที่นอนลมควรเป็นไนล่อนเคลือบพีวีซีซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง ระบายความอับชื้นได้ดีไม่ระคายเคืองต่อ ผิวของผู้ป่วย
•จำนวนลอนของที่นอนควรมีประมาณ 20 ลูก และขนาดของลูกลอนควรมีความเหมาะสมกับสรีระของคนไทย  ขนาดของลูกลอน ต้องไม่ใหญ่ หรือมีช่องว่างระหว่างลอนมากเกินไปเพื่อเป็นการช่วยกระจายแรงกด ทับของผู้ป่วยได้ดีขึ้น
• สามารถรับน้ำหนักได้มากถึง130 กิโลกรัม
• กรณีที่นอนรั่วเสียหายหรือใช้งานไม่ได้ สามารถถอดเปลี่ยนได้เป็นลูก ๆ หรือเปลี่ยนเฉพาะลูกลอนใหม่ทั้งผืน