“สำหรับเตียผู้ป่วยแล้วเตียงที่ดีที่สุดก็คือเตียงที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานที่สุดนั่นเองนะคะ ” 

“เตียง” คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการนอนหลับที่มีคุณภาพ สำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วย การนอนเตียงธรรมดาอาจจะทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบายนัก และอาจก่อให้เกิดอันตรายที่ไม่คาดคิด เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบความแตกต่างของข้อดีข้อเสียของของเตียงประเภทต่างรวมถึงการเลือกซื้อ เตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุ นั้นมันมีแบบไหนกันบ้าง เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจการ เลือกซื้อ เตียงผู้ป่วยได้ด้วยตนเองค่ะ 

download-1

การแบ่งประเภทตามการควบคุุม
จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1  เตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุ แบบมือหมุน ก็คือเตียงที่ควบคุมการปรับท่าต่างๆด้วยเพลาแบบมือหมุน ซึ่งจะมีจำนวนเพลาบริเวณปลายเตียงตามจำนวนท่าของเตียงที่ปรับได้นั่นเองค่ะ

%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2-%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%b1

2. เตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุ  แบบไฟฟ้าก็คือเตียงที่ปรับท่าต่างๆด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และควบคุมการปรับท่าผ่านรีโมทคอนโทรล หรือแผงควบคุม

%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9

                เตียงผู้ป่วย ในบ้านเรามีหลากหลายแบบมาก หลายราคามาก ซึ่งส่วนมากขึ้นอยู่กับจำนวนของไกร์ และคุณสมบัติของเตียงนั้นก็มีแตกต่างกันไป ดังนั้นเราจึงควรเลือก เตียงผู้ป่วย ที่ตอบโจทย์ และเหมาะสมกับการใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วย และผู้ดูแลได้อย่างเต็มที่ค่ะ เตียงผู้ป่วย สามารถแบ่งประเภทได้หลายแบบซึ่งเราจะแบ่งประเภทเตียงตามการควบคุม และ ความสามารถในการปรับท่าทางค่ะ โดยเราจะแบ่งประเภทของการปรับออกเป็น 5 ประเภท

  •  1 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง
  • 2 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง และท่าชันเข่า
  • 3 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า และระดับความสูง-ต่ำของเตียง
  • 4 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า ระดับความสูง-ต่ำของเตียง และท่าหัวสูง-เท้าต่ำ
  • 5 ไกร์ : ปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า ระดับความสูง-ต่ำของเตียง ท่าหัวสูง-เท้าต่ำ และท่าหัวต่ำ-เท้าสูง

 *ทั้งนี้ จำนวนไกร์ = จำนวนท่าที่ปรับได้ 

%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2-%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%b1

แนวทางการเลือกซื้อ เตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุ

 

  • เตียงทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ไม่เป็นสนิมได้ง่าย สามารถรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 150 ก.ก.เป็นต้นไป
  • มีระบบความปลอดภัยต่างๆ เช่น ราวข้างเตียง หริือ ระบบล๊อคล้อเตียง
  • ความยาวของเตียงโดยทั่วไป จะอยู่ที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความยาวที่พอเหมาะ และไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด
  • ความสูงของเตียงนอนสำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ดีนั้น ควรสูงจากพื้นประมาณ 40 เซนติเมตร หรือมีความสูงประมาณข้อพับเข่าของผู้สูงอายุ เมื่อเวลาลุกขึ้นนั่ง เพื่อที่จะยืน หรือทำกิจกรรมใดๆ จะได้วางเท้าถึงพื้นพอดี
  • ความสวยงาม ก็เป็นสิ่งสำคัญ เตียงที่มีความสวยงามจะทำให้ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่รู้สึกหดหู่ และเหมาะเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งภายในบ้าน

 เรามาเปรียบเทียบเตียงผู้ป่วยแบบมือหมุนกับเตียงผู้ป่วยแบบไฟฟ้ากันดูว่าเตียงแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียยังไงกันบ้าง

เตียงผู้ป่วย แบบมือหมุน
ข้อดี : ราคาไม่สูง ไม่ใช้ไฟฟ้า น้ำหนักเบา

ข้อเสีย : ใช้มือหมุนในการปรับระดับ ผู้ดูแลต้องก้มบ่อย อาจจะส่งผลเสียกับสุขภาพในระยะยาว และผู้ป่วยไม่สามารถปรับเตียงได้ด้วยตนเอง

เตียงผู้ป่วย แบบไฟฟ้า
ข้อดี : ลดภาระของผู้ดูแล ผู้ป่วยสามารถปรับเตียงได้ด้วยด้วยตนเอง

ข้อเสีย : ราคาสูง และใช้ไฟฟ้าในการทำงาน

หวังว่าข้อมูลที่เราให้ไปจะช่วยทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อ เตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุ ได้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของคนใช้นะ